7 WASTES

 

แนวคิดการลดต้นทุน โดยการกำจัดของเสียทั้ง 7 ประการ ถือกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น เป็นแนวคิดในการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นด้วยการพิจารณาความสูญเสียแล้วแก้ไขให้ตรงจุดอันจะนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิต และสร้างศักยภาพให้กับองค์กร ความสูญเสียทั้ง 7 ประการ ประกอบด้วย

1.  ความสูญเสียเนื่องจากการผลิตมากเกินไป  (Over Production)

  • การผลิตสินค้าปริมาณมากเกินความต้องการ หรือผลิตไว้ล่วงหน้าเป็นเวลานาน  
  • มาจากแนวความคิดเดิมที่ว่า  ต้องผลิตงานออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  เพื่อให้เกิดต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุด โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าจะทำ

    ให้มีงานระหว่างทำ (Work in process, WIP) ในกระบวนการเป็นจำนวนมาก และทำให้กระบวนการผลิตขาดความยืดหยุ่น

ปัญหาจากการผลิตมากเกินไป

  1. เสียเวลาและแรงงานไปในการผลิตที่ไม่จำเป็น
  2. เสียพื้นที่ในการจัดเก็บ WIP
  3. เกิดการขนย้าย
  4. ของเสียไม่ได้รับการแก้ไขทันที
  5. ต้นทุนจม
  6. ปิดบังปัญหาการผลิต

การปรับปรุง

  • ผลิตเฉพาะสิ่งที่ต้องการในปริมาณและเวลาที่ต้องการเท่านั้น
  • กำจัดจุดคอขวดของสายการผลิต
  • บำรุงรักษาเครื่องจักรให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  • ลดเวลาการตั้งเครื่องจักร (Set up Time ) พร้อมกับ กำหนดปริมาณการผลิตแต่ละLot ให้เล็กลง
  • ฝึกให้พนักงานมีทักษะหลายอย่าง ( Multi skilled Workers )

2. ความสูญเสียเนื่องจากการเก็บวัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็น  (Unnecessary Stock)

การซื้อวัสดุคราวละมากๆ เพื่อเป็นประกันว่าจะมีวัสดุสำหรับผลิตตลอดเวลา หรือเพื่อให้ได้ส่วนลดจากการสั่งซื้อ  จะส่งผลให้วัสดุที่อยู่ในคลังมีปริมาณมากเกินความต้องการใช้งานอยู่เสมอ  เป็นภาระในการดูแลและการจัดการ

ปัญหาจากการเก็บวัสดุคงคลัง

1.ใช้พื้นที่จัดเก็บมาก

2.ต้นทุนจม

3.วัสดุเสื่อมคุณภาพ (หากระบบการควบคุมวัสดุคงคลังไม่ดีพอ)

4.สั่งซื้อซ้ำซ้อน (หากระบบการควบคุมวัสดุคงคลังไม่เพียงพอ)

5.ต้องการแรงงานและการจัดการมาก

การปรับปรุง

  • กำหนดระดับในการจัดเก็บ มีจุดสั่งซื้อที่ชัดเจน
  • ควบคุมปริมาณวัสดุโดยใช้เทคนิคการควบคุมด้วยการมองเห็น 

   (Visual control)  เพื่อให้สามารถเข้าใจและสังเกตได้ง่าย

  • ใช้ระบบเข้าก่อน  ออกก่อน (First in first out) เพื่อป้องกันไม่ให้

    มีวัสดุตกค้างเป็นเวลานาน

  • วิเคราะห์หาวัสดุทดแทน (Value engineering) ที่สามารถสั่งซื้อได้ง่าย

   มาใช้แทน เพื่อลดปริมาณวัสดุที่ต้องทำการจัดเก็บ

  1. ความสูญเสียเนื่องจากการรอคอย (Waiting)

การรอคอยเกิดจากการที่เครื่องจักร หรือพนักงานหยุดการทำงาน เพราะต้องรอคอยบางปัจจัย ที่จำเป็นต่อการผลิต  เช่น

-การรอวัตถุดิบ

-การรอคอยเนื่องจากเครื่องจักรขัดข้อง

-การรอคอยเนื่องจากกระบวนการผลิตไม่สมดุลการรอคอยเนื่องจากการเปลี่ยนรุ่นการผลิต

ปัญหาจากการรอคอย

  1. ต้นทุนที่สูญเปล่าของแรงงาน เครื่องจักร

     และค่าโสหุ้ย ที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม

  1. เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาส
  2. เกิดปัญหาเรื่องขวัญและกำลังใจ

การปรับปรุง

  • จัดวางแผนการผลิต วัตถุดิบและลำดับการผลิตให้ดี
  • บำรุงรักษาเครื่องจักรให้มีสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา
  • จัดสรรงานให้มีความสมดุล
  • วางแผนขั้นตอนการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต และจัดสรรกำลังคนให้เหมาะสม
  • เตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้พร้อมก่อนหยุดเครื่อง
  • ใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยให้เกิดความสะดวกในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต
  1. ความสูญเสียเนื่องจากการเคลื่อนไหว (Motion)

ท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ต้องเอื้อมหยิบของที่อยู่ไกล ก้มตัวยกของหนักที่วางอยู่บนพื้น ฯลฯ ทำให้เกิดความล้าต่อร่างกายและทำให้เกิดความล่าช้าในการทำงานอีกด้วย

ปัญหาจากการเคลื่อนไหว

  1. เกิดระยะทางในการเคลื่อนที่ทำให้สูญเสียเวลาในการผลิต
  2. เกิดความล้าและความเครียด
  3. อุบัติเหตุ
  4. เสียเวลาและแรงงานในการทำงานที่ไม่จำเป็น

การปรับปรุง

  • ศึกษาการเคลื่อนไหว (Motion study) เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานให้เกิดการเคลื่อนไหวน้อยที่สุดและเหมาะสมที่สุด ตามหลักการยศาสตร์(Ergonomic) เท่าที่จะทำได้
  • จัดสภาพการทำงาน (Working condition) ให้เหมาะสม
  • ปรับปรุงเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำงานให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน
  • ทำอุปกรณ์ช่วยในการจับยึดชิ้นงาน (Jig, Fixtures) เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้นออกกำลังกาย

5. ความสูญเสียเนื่องจากการขนส่ง ( Transportation )

การขนส่งเป็นกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่วัสดุ ดังนั้นจึงต้องควบคุมและลดระยะทางในการขนส่งลงให้เหลือเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

ปัญหาจากการขนส่ง

  1. ต้นทุนในการขนส่ง ได้แก่ เชื้อเพลิง แรงงาน
  2. เสียเวลาในการผลิต
  3. วัสดุเสียหายหากวิธีการขนส่งไม่เหมาะสม
  4. เกิดอุบัติเหตุหากขาดความระมัดระวังในการขนส่ง

การปรับปรุง

  • วางผังเครื่องจักรใหม่ จัดลำดับเครื่องจักรตามกระบวนการผลิตให้อยู่ในบริเวณเดียวกันเพื่อลดระยะทางขนส่งในแต่ละขั้นตอน
  • ลดการขนส่งซ้ำซ้อน
  • ใช้อุปกรณ์ขนถ่ายที่เหมาะสม
  • ลดปริมาณชิ้นงานในการขนส่งแต่ละครั้ง  เพื่อให้สามารถส่งงานไปให้ขั้นตอนต่อไปได้เร็วขึ้นไม่ต้องเสียเวลารอนาน

6. ความสูญเสียเนื่องจากการผลิตของเสีย / แก้ไขงานเสีย   (Defects / Rework)

เมื่อของเสียถูกผลิตออกมา  ของเสียเหล่านั้นอาจถูกนำไปแก้ไขใหม่  ให้ได้คุณสมบัติตามที่ลูกค้าต้องการ หรือถูกนำไปกำจัดทิ้ง  ดังนั้นจึงทำให้มีการสูญเสียเนื่องจากการผลิตของเสียขึ้น

ปัญหาจากการผลิตของเสีย

  1. ต้นทุนวัตถุดิบ เครื่องจักร แรงงาน สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์
  2. สิ้นเปลืองสถานที่ในการจัดเก็บและกำจัดของเสีย
  3. เกิดการทำงานซ้ำเพื่อแก้ไขงาน
  4. เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาส

การปรับปรุง

  • มีมาตรฐานของงานและมาตรฐานของวัตถุดิบที่ถูกต้อง
  • พนักงานต้องปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามมาตรฐานตั้งแต่แรก
  • พยายามปรับปรุงอุปกรณ์ที่สามารถป้องกันการทำงานที่ผิดพลาด 
  • ฝึกให้พนักงานมีจิตสำนึกทางด้านคุณภาพ
  • ให้มีการตอบสนองข้อมูลทางด้านคุณภาพอย่างรวดเร็วในทุกขั้นตอนการผลิต (Quick response system)
  1. ความสูญเสียเนื่องจากกระบวนการผลิต (Processing)

เกิดจากกระบวนการผลิตที่มีการทำงานซ้ำๆกันในหลายขั้นตอน  ซึ่งไม่มีความจำเป็น เพราะงานเหล่านั้นไม่ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มกับผลิตภัณฑ์  รวมทั้งงานในกระบวนการผลิตที่ไม่ช่วยให้ตัวผลิตภัณฑ์เกิดความเที่ยงตรงเพิ่มขึ้นหรือคุณภาพดีขึ้น เช่น กระบวนการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์  ซึ่งเป็นกระบวนการที่ไม่ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มกับผลิตภัณฑ์  ดังนั้นกระบวนการนี้ควรรวมอยู่ในกระบวนการผลิตให้พนักงานหน้างานเป็นผู้ตรวจสอบไปพร้อมกับการทำงาน หรือขณะคอยเครื่องจักรทำงาน

ปัญหาจากกระบวนการผลิต

  1. เกิดต้นทุนที่ไม่จำเป็นของการทำงาน
  2. สูญเสียพื้นที่การทำงานสำหรับกระบวนการนั้นๆ
  3. ใช้เครื่องจักรและแรงงานโดยไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์

การปรับปรุง

  • วิเคราะห์กระบวนการผลิตโดยใช้ Operation process chart
  • ใช้หลักการ 5 W 1 Hเพื่อวิเคราะห์ความจำเป็นของแต่ละกระบวนการ
  • หากระบวนการทดแทนที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ของงานอย่างเดียวกัน
Copyright © 2019. All rights reserved.